เมื่อประมาณพันกว่าปีที่ผ่านมา ดินแดนบ้านถวายแห่งนี้ สันนิษฐานว่าเคยเป็นชุมชนโบราณที่เป็นส่วนหนึ่งของเวียงละโว้ (ปัจจุบันคือบ้านละโว้ ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของนครหริภุญไชย (จังหวัดลำพูน) ต่อมา พญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ได้ยึดครองนครหริภุญไชย เวียงละโว้จึงมีความสำคัญน้อยลงและล่มสลายไปในที่สุด ปัจจุบันยังคงปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นโบราณสถาน คือ ซากวัดร้างในบริเวณวัดถวาย และวัดต้นแก้วตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การก่อกำเนิด ของชุมชนในสมัยโบราณโดยทั่วไป มักมีจุดเริ่มต้นจากการบุกเบิกพื้นที่เพื่อทำมาหากินของผู้คน เมื่อผู้คนมีมากขึ้นก็รวมกันจัดตั้งเป็นชุมชนหรือหมู่บ้าน การก่อตั้งชุมชนบ้านถวายก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับการเกษตรกรรม ทำให้ผู้คนอพยพเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้และตั้งเป็นชุมชนเล็กๆ อยู่กันเป็นหย่อมบ้าน คือ บ้านถวายใน และบ้านถวายนอก ต่อมาเมื่อจำนวนผู้คนเพิ่มมากขึ้นจึงกลายเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ดังเช่น ปัจจุบันคำว่า “ บ้านถวาย ” มีที่มาจากหลายแหล่ง คือ จากคำบอกเล่า และจากหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ จากคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่นประเด็นแรกสรุปได้ว่า แต่เดิมในหมู่บ้านมีต้นหวายเป็นจำนวนมาก คนในชุมชนจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “ ต้าหวาย ” อีกประเด็นหนึ่งมาจากชื่อของเศรษฐีที่ชื่อ “ วาย ” ซึ่งเป็นผู้สร้างหรือบูรณะวัดในหมู่บ้าน และจากหนังสือ “ รายชื่อวัดและนิกายสงฆ์โบราณในเมืองเชียงใหม่ ” พบว่ามีวัดหนึ่งชื่อ “ ถวาย ” ตั้งอยู่หมู่บ้าน “ ถวาย ” สันนิษฐานว่าน่าจะเพี้ยนมาเป็น “ ถวาย ” อันเป็นชื่อของวัดถวายและบ้านถวายในปัจจุบัน
บ้านถวายในปัจจุบัน
บ้านถวายในปัจจุบัน
ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมือง นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาถิ่น (คำเมือง) ในการพูดสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน จากวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านถวายที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ต่อมาได้มีผู้นำเอางานแกะสลักไม้เข้ามาสู่หมู่บ้านและเป็นอาชีพเสริมของชาว บ้าน มีการถ่ายทอดงานศิลปะการแกะสลักไม้และงานศิลปะแขนงอื่นที่เกี่ยวข้องสืบต่อ กันมาอย่างแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น จนกลายเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน นอกจากนี้ ยังได้รับการส่งเสริมจากทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว ทำให้งานศิลปหัตกรรมของหมู่บ้านถวายได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ จนสามารถพัฒนาขึ้นเป็นธุรกิจการค้าที่สำคัญของตำบล( OTOP ) ที่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง และเกี่ยวข้องผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คนจำนวนมากในปัจจุบัน
วัสดุที่ใช้สำหรับแกะสลักมีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน เริ่มตั้งแต่วัสดุสำหรับการแกะสลักแบบง่ายๆ เนื้อวัสดุไม่แข็งมากนัก ไปจนถึงวัสดุที่มีความสลับซับซ้อนต้องใช้เครื่องมือไฟฟ้าเข้าช่วยในการปฏิบัติงานเพราะฉะนั้นในการเลือกใช้วัสดุจึงต้องคัดเลือกให้เหมาะสมกับงานแต่ละชนิด ดังนี้
1. ปูนปลาสเตอร์ หาได้ตามร้านเครื่องเขียนหรือร้านขายอุปกรณ์ทางศิลปะทั่วไป ธรรมชาติของปูนปลาสเตอร์จะมีเนื้อเป็นผงสีขาว ใช้ผสมกับน้ำอัตราส่วนน้ำ 1 ส่วน ปูนปลาสเตอร์ 2 ส่วน แต่ถ้าต้องการให้เนื้อปูนมีความหนาแน่นมากๆ อัตราส่วนของปูนปลาสเตอร์อาจจะผสมลงไปมากกว่านี้ก็ได้ ปูนปลาสเตอร์ที่มีคุณภาพดีเนื้อปูนจะแข็งตัวเร็ว เมื่อจับผิวกายภายนอกจะรู้สึกร้อน การเลือกปูนปลาสเตอร์จึงควรเลือกปูนที่ใหม่และมีคุณภาพดี
2. ปูนผสมทราย เป็นวัสดุสำหรับการแกะสลักที่เกิดจากการใช้วัสดุผสมกัน 2 ชนิด คือ ปูนปลาสเตอร์ และทรายในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ถ้ามีส่วนผสมของทรายมากเกินไปเนื้อปูนจะร่วนไม่เกาะติดกัน การใช้วัสดุปูนผสมทรายนั้นจะต้องมีความพิถีพิถันมาก เช่น ทรายที่จะนำมาใช้ผสมกับปูนปลาสเตอร์จะต้องได้รับการคัดแยกเศษวัสดุที่ปะปนมากับทรายออกให้หมดก่อน เพราะหากยังมีเศษวัสดุอยู่จะทำให้ผิวพื้นวัสดุไม่สวยงามหรืออาจมีปัญหาในขั้นตอนการแกะสลักได้
3. ไม้เนื้ออ่อน เป็นวัสดุที่หาได้ทั่วๆ ไปจากธรรมชาติ ไม้เนื้ออ่อนที่เหมาะสำหรับแกะสลัก เช่น ไม้โมก ไม้สัก เป็นต้น ไม้แต่ละชนิดจะมีลายที่งดงามแตกต่างกัน ซึ่งลักษณะของเนื้อไม้นี้เองสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับผลงานแกะสลักได้ ดังนั้น ในการเลือกนำไม้มาแกะสลัก ผู้เรียนควรจะเลือกชนิดและขนาดให้พอเหมาะกับลักษณะของงานแต่ละชิ้น เพื่อไม่ให้วัสดุสิ้นเปลืองจนเกินไป อีกทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย
4. เทียนไข เป็นวัสดุสำหรับการแกะสลักที่สามารถหาได้ตามร้านค้าทั่วๆ ไป แต่เทียนไขที่มีจำหน่ายจะเป็นเทียนไขสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับบูชาพระ ไม่สามารถนำมาใช้แกะสลักได้ ถ้าจะใช้ต้องนำมาหล่อใหม่ตามรูปทรงที่ต้องการก่อน โดยใช้การละลายกับความร้อนในภาชนะรองรับ และก่อนการละลายเทียนไข ควรนำไส้ในของเทียนออก ทั้งนั้นเพื่อไม่ให้ไส้เทียนปะปนกับเนื้อเทียนไขที่จะใช้ในการแกะสลัก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลัก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลักแบ่งตามลักษณะของวัสดุที่จะนำมาแกะสลักได้ดังนี้
1. ชุดเครื่องมือแกะสลักวัสดุอ่อน เป็นชุดเครื่องมือสำหรับใช้ในการแกะสลักวัสดุประเภท เทียนไข ปูนปลาสเตอร์ ผัก ผลไม้ เป็นหลัก มีหลายขนาดหลายแบบ จัดใส่กล่องไว้เป็นชุดๆ ตัวด้ามทำด้วยไม้หรือพลาสติก ส่วนหัวทำด้วยโลหะ มีลักษณะหน้าเรียบ ตรง เฉียง และโค้ง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเลือกใช้แกะสลักได้ตามต้องการ
2. ชุดเครื่องมือแกะสลักวัสดุเนื้อแข็ง เป็นชุดเครื่องมือสำหรับใช้ในการแกะสลักวัสดุประเภทไม้และปูนผสมทรายเป็นหลัก ตัวด้ามจะทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ส่วนหัวทำด้วยโลหะเนื้อแข็ง มีหลายแบบ เช่น แบบหน้าเอียง ร่องตื้น ร่องลึก ปลายตัด เป็นต้น บางครั้งเรียกเครื่องมือแกะสลักชนิดนี้ว่า “สิ่ว”
3. ตะลุมพุกและค้อน เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตอกหรือตีลงไปบนเครื่องมือแกะสลัก ส่วนมากจะใช้คู่กับสิ่ว ใช้กับการแกะสลักวัสดุที่มีเนื้อค่อนข้างแข็ง เป็นผลงานที่มีขนาดใหญ่ เวลาแกะสลักจะใช้เนื้อที่กว้างในการทำงานเพราะหากยังมีเศษวัสดุอยู่จะทำให้ผิวพื้นวัสดุไม่สวยงามหรืออาจมีปัญหาในขั้นตอนการแกะสลักได้
เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก
- ไม้ ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในงานแกะสลัก ได้แก่ ไม้สัก เป็นไม้ที่ไม่แข็งเกินไป มีลายไม้สวยงาม สามารถแกะลายต่างๆได้ง่าย หดตัวน้อย ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปลอดภัยจากปลวก มอดและแมลง ไม้ที่นิยมรองลงมาคือ ไม้โมก ไม้สน ที่สำคัญคือ ไม้ที่นำมาทำการแกะสลักจะ ต้องไม่มีตำหนิ เพราะจะทำให้งานชิ้นนั้นขาดความสวยงาม ค้อนไม้ เป็นค้อนที่มีลักษณะคล้ายตะลุมพุกเล็กๆ ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน
- ค้อนไม้จะเบา และไม่กินแรงเวลาใช้งานและช่วยรักษาด้ามสิ่วให้ใช้งานได้นานอีกด้วย
- สิ่ว เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแกะสลักมีหลายชนิดได้แก่ สิ่วขุด สิ่วฉาก สิ่วขมวด สิ่วเล็บมือ สิ่วจากเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียว ที่สำคัญคือจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ
- ค้อนไม้จะเบา และไม่กินแรงเวลาใช้งานและช่วยรักษาด้ามสิ่วให้ใช้งานได้นานอีกด้วย
- สิ่ว เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแกะสลักมีหลายชนิดได้แก่ สิ่วขุด สิ่วฉาก สิ่วขมวด สิ่วเล็บมือ สิ่วจากเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียว ที่สำคัญคือจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ
- มีด เป็นมีดเล็กๆ ปลายแหลม ใช้แกะลายเล็กๆ หรือแกะร่อง
- เลื่อย ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงาน
- บุ้งหรือตะไบ ใช้ถูตกแต่งชิ้นงานในขั้นตอนหลังจากแกะสลักแล้ว
-กระดาษทราย ใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากแกะสลักแล้ว
- กบไสไม้ ใช้ไสไม้ให้เรียบก่อนลงมือแกะหรือตกแต่งอื่นๆภายหลัง
- สว่าน ใช้เจาะรูไม้เพื่อแกะหรือฉลุไม้
- แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้
- เครื่องมือประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบ
- วัสดุตกแต่ง ได้แก่ ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีด ทินเนอร์ หรือสีทาไม้
- เลื่อย ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงาน
- บุ้งหรือตะไบ ใช้ถูตกแต่งชิ้นงานในขั้นตอนหลังจากแกะสลักแล้ว
-กระดาษทราย ใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากแกะสลักแล้ว
- กบไสไม้ ใช้ไสไม้ให้เรียบก่อนลงมือแกะหรือตกแต่งอื่นๆภายหลัง
- สว่าน ใช้เจาะรูไม้เพื่อแกะหรือฉลุไม้
- แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้
- เครื่องมือประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบ
- วัสดุตกแต่ง ได้แก่ ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีด ทินเนอร์ หรือสีทาไม้
วิธีการแกะสลักไม้
อันดับแรกเรานำไม้ที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป แบบนี้ ไม้ที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป
2.เรานำไม้มาขึ้นรูปก่อนโดยใช้เครื่องขึ้นรูปแบบใช้คน เครื่องนี้สามารถขึ้นรูปได้ทุกแบบแต่จะต้องใช้คนทำเท่านั้น
การขึ้นรูปนั้นเป็นการช่วยประหยัดเวลาในการแกะสลักไม้ให้เป็นรูปสัตว์ต่างๆ
4. นำไปขัด ลงน้ำมัน ลงสี ให้สวยงาม
ผู้ที่่ให้ข้อมูล
คุณเกษม ทิพย์คำมา